วันอาทิตย์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2555


                                                         การปลูกผักสวนครัว
ตระกูลกะหล่ำและผักกาด ได้แก่ คะน้า กวางตุ้ง ผักกาดขาว ผักกาดหัว กะหล่ำดอก กะหล่ำปลี และบร๊อกโคลี
- ผักตระกูลนี้มีเล็ดค่อนข้างเล็ก บางชนิดมีราคาแพงมาก เพราะส่วนใหญ่ต้องสั่งเมล็ดมาจากต่างประเทศ
- วิธีปลูก หยอดเมล็ดเป็นหลุม ๆ ละ 3-5 เมล็ด ห่างกันหลุมละ 20 เซนติเมตร หรือโรยเมล็ดบาง ๆ เป็นแถวห่างกันแถวละ 20 เซนติเมตร หลังหยอดเมล็ดหรือโรยเมล็ด 10 วัน หรือเมื่อมีใบจริง 2-3 ใบ ถอนแยกให้เหลือหลุมละ 2 ต้น หรือหากโรยเมล็ดเป็นแถวให้ถอนอีก ระวังระยะต้นไม่ให้ชิดกันเกินไป
- ใส่ปุ๋ยยูเรียหลังจากถอนแยกหรือทำระยะปลูกแล้ว
- หลังใส่ปุ๋ยครั้งแรก 10 วันใส่ปุ๋ยยูเรียครั้งที่สอง
- อายุการเก็บเกี่ยวผักแต่ละชนิดแตกต่างกันเล็กน้อย เช่น คะน้า กวางตุ้ง เก็บเกี่ยวได้เมื่อมีอายุ 30-45 วัน ผักกาดหัว 45-55 วัน ผักกาดขาวปลี เขียวปลี กะหล่ำดอก กะหล่ำปลี อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 50-60 วัน หลังหยอดเมล็ด
- เมื่อเก็บเกี่ยวไม่ควรถอนผักทั้งต้น เก็บผักให้เหลือใบทิ้งไว้กับต้น 2-3 ใบ ต้นและใบที่เหลือจะสามารถเจริญให้เป็นผลผลิตเก็บเกี่ยวได้อีก 2-3 ครั้ง
- ข้อควรระวัง ต้องให้น้ำสม่ำเสมอ ผักตระกูลนี้มักมีปัญหาโรคและแมลงค่อนข้างมาก ต้องคอยดูแลเอาใจใส่ใกล้ชิด

วันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555


              การซ่อมพัดลม
                             
                               วิธีการตรวจเช็ค และ ซ่อมมีดังนี้
   
   อันดับแรกต้องวิเคราะห์ปัญหาก่อนนะครับ ว่าอันไหนน่าจะเสีย

   แล้วก็ลงมือตรวจเช็นอันนั้นเป็นอันดับแรก

   พัดลมไฟไม่เข้าให้ดู 2 อย่างครับ

   1.เทอร์โมฟิวส์

   2.สวิตส์

   1.เทอร์โมฟิว

   ให้เราเปิดฝาหลังพัดลมออก แล้วทำการเช็คเทอร์โมฟิวเลยครับ โดยการเอามิเตอร์ตั้งค่าที่ย่าน 10K

   แล้วจิ้มที่ปลายทั้งสองฝั่ง ถ้าไม่ขึ้น ให้เปลี่ยนเทอร์โมฟิวส์ได้เลยครับ

        - ในกรณีฉุกเฉินเราไม่ต้องมีฟิวส์ก็ได้นะครับ ต่อตรงไปเลย ก็ไม่มีปัญหาครับ

         ในกรณีที่เทอร์โมฟิวไม่ขาด แสดงว่ามอร์เตอร์ไหม้แล้วล่ะครับ

   2.สวิตส์

   วิธีเช็คก็ง่ายๆครับ เปิดฝาล่าง กดสวิตส์เอามิเตอร์ วัด ดังนี้

   1-1 ,1-2, 1-3, 1-4 ถ้าขึ้นก็สวิตส์ยังใช้ได้อยู่ครับ

             - สวิตส์เสียนี่จะพบได้น้อยมากครับ โอกาศเสียนี่น้อยมาก

   
   สุดท้ายก็เช็คสายไฟครับถ้าไม่ขาดก็โอเคครับ

   
         เมื่อซ่อมเสร็จแล้ว ก็มาตรวจเช็คกันอีกครั้งนึงครับโดยการ

   เอามิเตอร์ตั้งค่าที่ 10K จิ้มกับปลั๊กเสียบ ทั้ง 2 ขา แล้วกดสวิตส์

   เบอร์ 1,2,3 ขึ้น ก็แสดงว่าใช้ได้แล้วครับ  

          และตรวจเช็คว่ามอเตอร์ลงกราวด์หรือไม่

   โดยการตั้งมิเตอร์ที่ 10K แล้วสายนึงจิ้มกับปลั๊กพัดลม อีกสายจิ้มกับโครงมอเตอร์ ว่าขึ้นหรือไม่

   ถ้าขึ้นก็ให้เริ่มเก็บเงินไว้ได้เลยครับ เพราะ อีกไม่นาน ก็จะพังแล้วล่ะครับ